วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาปฐมวัยในประเทศจีน





บทนำ
                ประเทศจีน  มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเยาวชนของชาติ  มีการวางแผนอย่างรอบคอบ  โดยไม่มีการแข่งขันหรือแตกแยกกันในทางความคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาหรือวิธีการจัดการศึกษาเป็นอย่างอื่น  ชาวจีนมีความเชื่อมั่นว่าเด็กชาวจีนทุกคนจะต้องได้รับการเตรียมตัว  เพื่อโลกแห่งการทำงาน  และเพื่อชีวิตที่ต้องเพิ่งตนเองต่อไป  ทุก ๆ เช้าเด็กอนุบาลที่โตหน่อยก็จะต้องทำความสะอาดเด็กเล่น  รดน้ำต้นไม้  ซักผ้าเช็ดของตน  และทำงานอื่นๆ แล้วจะมีอะไรให้ทำ
                ในปี ค.ศ.  1977  ผู้อำนวยการของโรงเรียนอนุบาลแบบอยู่ประจำเปไห่ในปักกิ่งได้กล่าวว่า  ก่อนที่จะมีการปฏิวัติวัฒนธรรม  จีนจัดอันดับความสำคัญของสติปัญญาไว้เป็นอันดับแรก  พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกให้มีสุขภาพแข็งแรง  โดยไม่สนใจกับความเชื่อในลัทธิการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น  ตัวอย่างเช่น  เมื่อเด็ก ๆ ดื่ม น้ำชาจากชุดชา  ครูจะสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นเพื่อพัฒนาภาษาพูดและสติปัญญาของเด็ก  แต่ในปัจจุบันนี้การสนทนาจะเกี่ยวกับ  “ถ้วยชาที่ผลิตขึ้นโดยแรงงานของ “ลุง” หรือ “ป้า” กรรมกร  เป็นการชักจูงไปถึงการทำงานหนักตั้งแต่การรวบรวมดินเหนียวมาเพื่อจะปั้นให้เป็นถ้วยชามต่าง ๆ สำหรับเด็ก ๆ เหล่านี้การศึกษาไม่ได้แยกประสบการณ์จากชีวิตจริงออกจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นเลย
                แม้ในบทเพลงหรือบทกวีต่าง ๆ ก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นนี้ดังตัวอย่าง
“ใคร ๆ เรียกฉันว่า  ทหารตัวน้อย
                                ฉันต้องการจะร่วมในการปฏิวัติ  แม้ฉันจะยังเด็กก็ตาม
ฉันต้องการจะเป็นกรรมกร  ชาวนา  หรือไม่ก็ทหารเมื่อฉันโตขึ้น”
“รถคันเล็กของฉันสวยเหลือเกิน
ฉันบีบแตรเล่นเป็นระยะ ๆ
ฉันคือพลขับตัวน้อยของขบวนการปฏิวัติ”

ประวัติความเป็นมา
                จีนได้พัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ประณีตงดงามมากว่าระยะเวลา  2,000  กว่าปีของยุค
อารยธรรมรุ่งเรือง  เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่เมื่อเวลาล่วงมาถึงศตวรรษนี้  มีประชากรเพียงส่วนน้อยนิด
เท่านั้นที่ยังคงรักษาธรรมเนียมประเพณีเก่า ๆ  เหล่านี้ไว้ได้  ซึ่งก็คือพวกคหบดีในชนบทเท่านั้น  ระบบการให้ความรู้ก็คือการสืบเนื่องวัฒนธรรมที่เป็นมรดกสืบทอดกันมาวัฒนธรรมเหล่านี้ล้วนมีจุดรวมอยู่ที่คำสั่งสอนของท่านขงจื้อ  ข้อเขียนที่มีคุณค่าของบรรพชนและประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองของมหาอาณาจักรจีน  สังคมในยุคที่ผ่านมาจะเป็นรูปแบบของการพยายามที่จะทะนุบำรุงรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้มากกว่าจะคิดพัฒนาให้เหมาะสมขึ้น
                ชาวจีนในยุคก่อนได้ศึกษาเล่าเรียนจากคัมภีร์เขียนจากกระดาษที่ทำจากเยื่อไผ่  เขาเหล่านั้นได้รับการฝึกฝนจิตใจให้มั่นคงในความดีงาม  และรู้จักการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  โดยการฟังคำสั่งสอนและดูตัวอย่างจากผู้อาวุโส
                เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ขึ้นมามีอำนาจในปี  1949  จีนมีอัตราผู้รู้หนังสือทั้งหมดเพียง  20  เปอร์เซ็นต์  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเหตุผลว่าก่อนหน้าปี  1949  นั้น  จำนวนโรงเรียนมีน้อยกว่า  40  เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเด็กในวัยเรียนทั้งหมด  ดังนั้นงานเร่งด่วนของคณะรัฐบาลใหม่ก็คือ  การขยายระบบการศึกษาออกไปเพื่อขจัดความไม่รู้หนังสือ  และเพื่อผลิตกรรมกรที่ชำนาญงานและบุคลากรมืออาชีพที่จะมาช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจในสังคมในขณะนั้น
                วันที่  1  ตุลาคม  1951  คณะกรรมการบริหารของรัฐบาลแห่งประชาชาติได้ตรากฎหมาย  เพื่อ  “พิจารณาการปฏิรูปการศึกษา”  และได้จัดระบบการศึกษาใหม่สำหรับประชากรของสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น  เหตุการณ์นี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของระบบการศึกษาของประเทศจีนต่อมา
                ภายใต้กฎหมายใหม่นี้  กิจกรรมทุกประเภทเกี่ยวกับการเรียนการสอนทุกระดับตั้งแต่อนุบาลขึ้นไปจนถึงมหาวิทยาลัย  ก็ได้รับการปรับให้มีลักษณะเป็นลักษณะเดียวกันเป็นหนึ่งเดียว
                การศึกษาในระดับอนุบาล  ซึ่งมีมาก่อน ค.ศ.  1949  นั้น  มีลักษณะเป็นการศึกษา   2  ปี  สำหรับเด็กตั้งแต่  4  ขวบไปจนถึง  6  ขวบ  หลังจากนั้นจึงมรการขยายออกไปอีก  1  ปีเพื่อรับเด็กจนถึงอายุ  7  ขวบ  ซึ่งจะไปต่อเข้าโรงเรียนประถมศึกษาได้พอดี
                จีนใช้คำเรียกการเลี้ยงดูเด็กแบบบริบาล  ว่า “โต –เอห์– โซ”  ( ศูนย์ฝากเลี้ยงเด็ก ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่ผู้ปกครองไว้ในมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกของตน  ความต้องการสำหรับสถานที่สำหรับสถานที่ลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น  เมื่อพ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้านหมดทำให้ต้องมองหาใครที่จะมาช่วยดูแลเด็กแทน  ก่อนปี  1949  มีสถานเลี้ยงเด็กแบบนี้อยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น  แต่หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงไม่เท่าไหร่  ก็มีสถานเลี้ยงเด็กผุดขึ้นมาเป้นดอกเห็ดและแพร่ขยายจากในตัวเมืองออกไปถึงชนบทอย่างทั่วถึง

ปรัชญาการศึกษา
                จีนได้ตั้งจุดประสงค์ของการศึกไว้  3  ข้อคือ
                1.   ให้สนองอุดมคติที่เปลี่ยนแปลงไปของประชาชนจีน  วิธีการที่ใช้คือใช้อิทธิพลของพรรคเข้าควบคุมและปลุกระดมให้ซาบซึ้งถึงอุดมการณ์ของพรรค  จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากเนื้อเพลงเด็กที่เขียนไว้ตอนต้น  เด็ก ๆ  จะไม่เพียงแต่ร้องเพลงสรรเสริญท่านประธานเหมาเจ๋อตุงเท่านั้น  แต่ยังจะต้องร้องเพลงแสดงความเกลียดชังและสาปแช่งทุกคนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามด้วย  มีการแสดงท่าทางประกอบ  เช่น  การชูกำปั้น  และการขู่เข็ญจะยิงเครื่องบินของจักรวรรดินิยมอเมริกาให้ร่วงหล่น  รวมทั้งใช้ปืนเด็กเล่นทำด้วยไม้แสดงท่าล้อเลียนดูถูกทหารอเมริกันตั้งแต่นายพลขึ้นไปถึงประธานาธิบดี

                2.   ให้สนองตอบนโยบายประหยัดของชาติ  โดยใช้แรงงานคนให้เกิดผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนจะต้องสอนให้นักเรียนตั้งแต่ในระดับก่อนวัยเรียนเข้าใจซึมซาบและมีความยินดีที่จะเป็นแรงงานให้แก่ประเทศชาติของตน
                3.   ให้การศึกษาสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของมวลชน  โดยพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับท้องถิ่น  โยใช้งบประมาณและแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นทุกระดับและมาตรฐานการครองชีพ  เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและความสามารถของท้องถิ่นนั่นเอง
                นอกเหนือจากจุดประสงค์ในการจัดการศึกษาทั้ง  3   ประการนี้แล้วเด็ก ๆ  ยังได้รับการย้ำให้ซึบซับถึงความทุกข์ยากและความขมขื่นในช่วงเวลาก่อนการปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา  ถ้าใครเกิดบ่นไม่พอใจที่ต้องใช้เสื้อผ้าเก่า ๆ  ขาด ๆ  ก็จะถูกอบรมให้รู้จักมีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่โดยการเล่าถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน ๆ  แล้วก็จะได้รับฟังเรื่องเกี่ยวกับวีรบุรุษต่าง ๆ แห่งการฟื้นฟูสังคมยุคใหม่  ให้เกิดความซาบซึ้งในความกล้าหาญและอดทนของวีรชนเหล่านั้น  นอกจากนั้นยังได้มีการย้ำเน้นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม  พลังกลุ่มและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  เด็ก ๆ จะถูกสอนว่ามิตรภาพนั้นสำคัญยิ่งกว่าการแข่งขันเพื่อเอาชนะกันอย่างเช่น  เด็กกลุ่มหนึ่งอาจจะช่วยกันวาดรูประบายสี  เด็กบางคนอาจจะระบายสีพื้นหลังบางคนอาจจะวาดรูปต้นหญ้าหรือวิว  หรือรูปคน  ช่วยกันวาดให้เสร็จเป็นงานของกลุ่มที่ทุกคนมีส่วนช่วยกันทำ
                เด็ก ๆ จะมีโอกาสได้ออกไปศึกษานอกสถานที่  ในโรงเรียน  หรือในชนบทต่าง ๆ เขาจะได้ไปดูและสังเกตการทำงานในทุ่งนาของพวกชาวนาที่ยากจน  และมีความเป็นอยู่ในระดับต่ำ  ได้สังเกตการทำงานที่ต้องอดทนแต่ทุกคนก็ก้มหน้าก้มตาทำโดยไม่ปริปากบ่น  ผลที่ได้ก็คือ  เด็ก ๆ  จะได้เรียนรู้ที่จะมุ่งความสนใจไปยังสังคมส่วนรวมมากกว่าจะคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง
                การศึกษาในระบบคอมมิวนิสต์จีนได้ประมวลแนวคิดไว้ดังนี้  ชีวิตที่ให้ความร่วมมือเป็นรากฐานของสังคม  เช่นเดียวกับเอกัตบุคคลเป็นรากฐานของจักรวรรดินิยม  การเป็นตัวของตัวเองจะต้องถูกทำลายไปเพื่อให้สังคมนิคมเข้ามาแทนที่  ความเป็นตัวเอง  ความนิยมในเอกลักษณ์ของตนเอง  การบุชาวีรบุรุษตามความพอใจของตน  การฝึกหรือแนะให้คนเคารพเหตุผลของตนเองเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมของคอมมิวนิสต์จีนทั้งสิ้น
                การให้ความร่วมมือในสังคมเริ่มขึ้นด้วย  การจัดสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล  การจัดงานวันเกิดซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบกันมากในโรงเรียนอนุบาลที่ฮ่องกง  จะไม่มีทางได้จัดอย่างเด็ดขาดในโรงเรียนอนุบาลที่ประเทศจีนเพราะที่นั่นกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นเรื่องของตนเองไม่มีความสำคัญอะไร  แต่ชาวจีนไม่ว่าเด็กหรือคนหนุ่มสาว  เฒ่าแก่  จะร่วมใจอย่างพร้อมเพรียงกันในการฉลองวันสถาปนาของสถาปนาของสถาบันสังคมที่ยิ่งใหญ่ต่าง ๆ การครบรอบปีของการปฏิวัติ  การครบรอบปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์  กองทัพปลดแอก
                นับตั้งแต่ลืมตาดูโลก  เด็ก ๆ  จะถูกเลี้ยงดูขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอันยิ่งใหญ่  และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความเป็นอยู่ของสังคมนั้น  พวกเขาจะเติบโตขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่ว่า  ตนนั้นเป็นของสังคมสาธารณรัฐมากกว่าเป็นของครอบครัวของตนเอง
                สถานเลี้ยงดูเด็กและโรงเรียนอนุบาลได้ระบบได้ระบุจุดประสงค์เอาไว้อย่างชัดแจ้ง  นอกเหนือจาการให้การเลี้ยงดูแทนพ่อแม่ที่ออกไปทำงานแล้วโรงเรียนมีความประสงค์จะพัฒนาเด็กชายและเด็กหญิงเหล่านี้ให้เติบโตขึ้นมาเพื่อร่วมโครงการปฏิวัติในพื้นที่ใกล้เคียงหรือเหล่าโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้จุดประสงค์ดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลและโปรแกรมนี้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการเร่งด่วนในอันที่จะขยายการตั้งสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลออกไปให้เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้

โครงสร้างและการขยายตัว
โครงสร้าง
                ในระยะของการศึกษาก่อนวัยเรียนนั้น  มีสถานเลี้ยงเด็กที่รับดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4-5 ขวบ ต่อจากนั้นจึงเข้าโรงเรียนอนุบาลอีก 2-3 ปี  การศึกษาในระบบโรงเรียนเริ่มตั้งแต่เมื่อเด็กอายุได้  7  ขวบ  จะเข้าโรงเรียนประถมศึกษาและจบชั้นประถมศึกษาเมื่ออายุประมาณ  13  ปี  ตามปกติแล้วส่วนใหญ่นักเรียนจะเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาอีก  6  ปี 
การขยายตัว
                การศึกษาก่อนวัยเรียนในประเทศจีนอาจจะแบ่งได้เป็น  2  ระยะคือระยะก่อนปี  ค.ศ. 1958  และระยะหลังปี ค.ศ. 1958
                การศึกษาระดับอนุบาลและการศึกษาก่อนวัยเรียนไม่เป็นที่นิยมกันนักในประเทศจีน  สถิติเกี่ยวกับพัฒนาการของการศึกษา  2  ระดับนี้  แสดงว่าแม้ในปี  ค.ศ.  1957  ในจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า  7  ขวบประมาณ  140,000 – 150,000  คนนั้น  ก็มีเพียง  1,000  คนเท่านั้น  ที่ได้เข้าเรียนในสถาบันศึกษาที่ตั้งขึ้น  โดยทั่วไปแล้ว  ตัวเลขเหล่านี้ได้มาจากสถานเลี้ยงเด็กแถบชานเมืองซึ่งก่อตั้งขึ้นและดำเนินการโดย  โรงงานอุตสาหกรรม  เหมืองแร่  รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานของรัฐ  จุดประสงค์ใหญ่ก็คือ  เพื่อช่วยบรรดามารดาทั้งหลายให้ออกไปทำงานได้  ดังนั้นแม้ว่าบางครั้งสถานที่เหล่านี้  จะตั้งอยู่ในที่ดินของหน่วยงานที่บรรดามารดาเหล่านั้นทำงานอยู่
                ในระหว่างที่การขยายตัวทางด้านนี้กำลังดำเนินไปอย่างช้า ๆ  นั้น  ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับ  ความขาดแคลน  ทางด้านตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมมาร่วมงานในสถาบันการศึกษาก่อนวัยเรียนนี้  ครูส่วนใหญ่ก็ได้แก่พวกแม่บ้านหรือมิฉะนั้นก็พวกเด็กสาว ๆ ที่ได้รับการฝึกฝนมาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น  แต่อย่างไรก็ตามในโรงเรียนอนุบาลที่เด่น ๆ ก็พยายามที่จะให้ได้มีการฝึกเพิ่มเติมในวิชาอื่น ๆ ด้วย เช่น  พลศึกษา  การสอนภาษา  ความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  ศิลปศึกษา  ดนตรี  และคณิตศาตร์
                ในปี  ค.ศ.1958  มีรายงานว่าจำนวนเด็กที่มาสมัครเข้าเรียนในระดับอนุบาลมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง  30  เท่าของปีที่ผ่านมาในขณะที่จำนวนเด็กในสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นจากประมาณ  5  แสนคน  เป็นมากกว่า 47 ล้านคน แต่การโฆษณาของพรรคอมมิวนิสต์กลับรายงานไปในทางตรงกันข้ามว่า จำนวนนักเรียนในปี ค.. 1958 ไม่สามารถเทียบกับจำนวนในปี 1957 ได้เลย และจะต้องพิจารณาเป็นปีๆไป การขยายตัวนี้เกอดขึ้นพร้อมๆ กับนโยบายก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกับการก่อตั้งระบบคอมมูนและนโยบายการพยายามดึงดูดคนเข้ามาในสถาบันแรงงาน จำนวนพวกผู้หญิงในเขตเมืองที่เข้าไปทำงานทั้งในไร่และสำนักงานมีเพิ่มมากขึ้นทุกที และในชนบทองพวกผู้หญิงก็ถูกบังคับทางอ้อมจากการที่พวกผู้ชายถูกเกณฑ์แรงงานไปสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ สร้างถนนหรืองานอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ผู้หญิงจึงต้องมีบทบาทและความรับผิดชอบมากขึ้นในการกสิกรรม ในขณะที่แต่เดิมมาพวกผู้หญิงเพียงแต่ช่วยตามฤดูกาล หรือช่วยกิจกรรมพิเศษอื่นๆ และดูแลเด็กๆในหน้าเพาะปลูกหรือเกี่ยวข้าวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอมมูนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกสำหรับเด็กๆ ที่อายุยังไม่ถึงวัยเรียนด้วย เพื่อให้มารดาไปทำงานได้
         จะเห็นได้ว่า การจัดอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเช่นนี้จะมีมีการขยายตัวในเมืองใหญ่ก็จริง แต่จำนวนนี้จะท่วมท้นจะเกิดขึ้นในชนบท เด็กเป็นจำนวนมากจะได้รับความดูแลจากหญิงสูงอายุหรือเด็กสาวที่มีตั้งแต่ยังไม่รู้หนังสือ ไปจนถึงรู้ครึ่งๆกลางๆ  ในขณะที่พวกมารดาทั้งหลายไปทำงานในทุ่งนา ทำให้เด็กๆอาจจะได้เรียนรู้อะไรบ้างเล็กๆน้อยๆ หรือบางทีก็ไม่ได้เรียนเลย เด็กเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆละ 45 คน และมีผู้ดูแลกลุ่มละ 2 คน ตามสถิติที่รายงานไว้

การบริหาร
สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยบางแห่งอำนวยการโดยสภาประชาชนแห่งท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการโดย คอมมูนต่างๆ ในชนบท โรงงานในเขตเมือง สำนักงานต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม หรือเขตที่อยู่อาศัย แต่ไม่ว่าจะดำเนินการโดยฝ่ายใดก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการที่ออกมาบังคับใช้ทั้งสิ้น
คณะปฏิวัติ เป็นผู้ควบคุมดูแลจังหวัด เมือง โรงเรียน มหาวิทยาลัย คอมมูน กลุ่มวัฒนธรรมและองค์การเกือบทุกประเภทในประเทศจีน คณะปฏิวัตินี้ประกอบด้วย  กรรมการชาวนาในชนบท นักบริหาร และสมาชิกจากกองทัพประชาชน อย่างไรก็ดีกระรวงศึกษาธิการก็ยังเป็นผู้ควบคุมเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง การบริการต่างๆ ในสถานเลี้ยงเด็กและอนุบาล นอกจากนั้นยังดูแลควบคุมเกี่ยวกับคุณสมบัติของครูและผู้บริหารโรงเรียนด้วยเช่นเดียวกัน

การอำนวยความสะดวก
           หญิงมีครรภ์จะได้ลดงานลงจาก 8 ชั่วโมง เป็น 7 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน และจะมีสิทธิลาหลังคลอดได้ 56 วัน แต่อัตรานี้ก็จะไม่แน่นอนตายตัว อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ ถ้าการคลอดไม่เป็นไปตามปกติหรือมารดาคลอดลูกแฝด ในระหว่างการทำงานมารดาจะได้รับอนุญาตให้พักได้ครึ่งชั่วโมงเพื่อไปดูแลลูกในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน
           ประเทศจีนเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ สถานการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยวดูเด็กจึงแตกต่างกันออกไปในส่วนต่างๆ ของประเทศ ตามปกติแล้วเด็กๆจะถูกทิ้งให้อยู่กับย่าหรือยายที่บ้าน แต่ถ้าที่บ้านไม่มีคนแก่และมารดาของเด็กต้องไปทำงานในโรงงาน มารดาเหล่านั้นก็จะนำเด็กไปไว้ที่สถานเลี้ยงเด็กของโรงานที่ตนทำงานอยู่ตั้งแต่อายุได้ประมาณ 8 สัปดาห์ เช้าขึ้นพอไปถึงก็เอาเด็กไปฝากไว้ที่นั่น พอเย็นเลิกงานก็ไปรับลูกกลับบ้าน ถ้าครอบครัวไหนอยู่ไกลจากโรงงานมาก ไม่สะดวกที่จะไปรับเด็กพากลับบ้านทุกวัน พ่อแม่ก็สามารถฝากลูกไว้ที่สถานที่เลี้ยงเด็กแบบกินนอนให้อยู่ไปในระหว่างวันที่ทำงาน พอเย็นวันเสาร์หรือวันหยุดก็รับกลับบ้านได้
           สถานเลี้ยงเด็กแบบกินนอนนี้ มักจะดัดแปลงจากบ้านหลังใหญ่ๆที่เจ้าของไม่อยู่แล้ว เป็นบ้านประเภทที่มีห้องเล็กๆ หลายห้องล้อมรอบสนามแบบเดียวกับบ้านในเมืองที่มีคนอาศัยอยู่หลายครอบครัวและใช้สนามกลางร่วมกัน นอกจากคนดูแล คนครัว พยาบาลและคนอำนวยความสะดวกอื่นๆ แล้ว ยังมีครู 1  คน  ประจำดูแลเด็กอายุระหว่าง  3 ขวบครึ่งถึง 5 ขวบ กลุ่มละ 7-8 คนอีกด้วย
          ตัวอาคารสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นอยู่กับความร่ำรวยขององค์การที่รับผิดชอบ และความนึกคิดและจินตนาการของกลุ่มครู บางแห่งชั้นอนุบาลจะมีตึกเป็นของตนเองทั้งหลัง แต่บางแห่งก็จัดเป็นห้อง  2-3 ห้อง รวมอยู่กับโรงเรียนประถมศึกษา ตัวห้องเรียนเองก็มีขนาดไม่แน่นนอน บางแห่งก็เป็นห้องเล็กๆ มีโต๊ะตัวจิ๋วๆ ตั้งอยู่เต็มห้อง อย่างในตึกที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งดู เหมือนว่าเป็นพื้นห้องที่เป็นไม้จะต้องแน่นขนัดจนน่ากลัวอันตราย แต่บางแห่งก็เป็นห้องกว้างเพดานสูงในบ้านของคหบดี ชาวนา อย่างที่ตำบลที่ปลูกชาใกล้เมืองฮังซอน ซึ่งกว้างขวางใหญ่โตจนจะแทบทำให้เด็กๆ ที่นั่งล้อมวงกันดูกลายเป็นคนแคะไปเลย อย่างไรก็ตามในสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลเหล่านี้ก็จะจัดเป็นเครื่องนอนให้กับเด็กทุกคนได้นอนพักหลังอาหารกลางวัน และถ้าเด็กที่ยังเล็กก็จะยืดเวลาให้นานขึ้นอีก เด็กๆ เหล่านี้จะนอนเรียงแถวบนสื่อที่ปูทับพื้นที่ก่อด้วยอิฐ
           เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนนี้ สร้างขึ้นตามขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก จะต้องวัดขนาดในการทำม้านั่ง อ่างล้างหน้าเตี้ยๆ ลาวแขวนผ้าเช็ดตัว ๚ล๚บางแห่งยังจัดหาตุ๊กตาต่างๆ ที่ผลิตจากโรงงานหรือจักรยานสามล้อไว้ให้เด็กๆเล่นด้วย

การฝึกหัดครู
          ในปี ค..1956 กระทรวงศึกษาธิการได้แวงแผนผลิตครูในทุกระดับสำหรับ 7 ปีใน 1 ล้านคน แต่จำนวนที่จบจากสถาบันฝึกหัดครูทุกแห่งกับมีจำนวนน้อยมาก บทความในวารสารปฏิรูปจีน
 ( China Reconstructs) ประจำเดือนกันยายน 1956 รายงานว่าในปี ค.. 1955 มีบัณฑิตครูจบการศึกษาจำนวน 12‚000 คน แต่จำนวนครูในโรงเรียนต่างๆ ที่ยังขาดอยู่มีประมาณ “อย่างน้อย 5‚000 คน“
          แม้ในปี ค.. 1961 จำนวนบุคลากรที่มีวุฒิเหมาะสมในการดำเนินงานในสถาบันการศึกษาก่อนโรงเรียนก็ยังมีไม่พอเพียง ครูส่วนมากก็คือพวกแม่บ้านหรือเด็กสาวๆ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสั้นๆ มาเท่านั้น ถึงกระนั้นโรงเรียนอนุบาลที่ก้าวหน้าบางแห่งก็ยังพยายามที่จะบรรจุวิชาพลศึกษา ภาษา สังคม และธรรมชาติวิทยา ดนตรี และคณิตศาสตร์ เข้าไปในหลักสูตรด้วย
           การสอนในระดับอนุบาล กลายเป็นงานที่โก้หรูสำหรับผู้ชายเพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงจะทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่าผู้ชาย

หลักสูตร
          แม้ว่าแนวโน้มหลักคือการเปิดโรงเรียนปกติที่เปิดสอนวันละ 8-10 ชั่วโมงก็ตาม ก็ยังมีบางโรงเรียนที่ใช้ระบบเปิดสอนวันสอนวันละครึ่งวัน คือ 4 ชั่วโมง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น บางโรงเรียนก็เปิดเป็นโรงเรียนประจำ ที่รับเลี้ยงเด็กในระหว่างสัปดาห์และกับบ้านได้ในวันหยุด แต่ในบางกรณีโรงเรียนอนุบาลก็เป็นโรงเรียนที่เปิดดำเนินการเฉพาะช่วงสั้นๆ เช่น ระหว่างฤดูเก็บเกี่ยว และเก็บค่าป่วยการเพียงเล็กน้อย แต่ให้พอค่าอาหารเท่านั้น
          ในโรงเรียนอนุบาลเหล่านี้ วิธีการสอนที่ใช้เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาพื้นฐานที่กำหนดไว้ในโปรแกรมการเรียนก็คือ ดนตรี ครูจะใช้สื่อนี้ในการสอน จริยาศึกษา การศึกษา ศรัทธาทางการเมือง การใช้แรงงาน และสิ่งที่พวกเขา เรียกว่า “การเรียนรู้ที่จะรู้จักกันและกัน” เมื่อมีการแสดงของเด็กๆ ที่โรงเรียน เด็กๆ จะแต่งหน้าจัดด้วยสีทาแก้ม ลิปสติก และดินสอเขียนตา
           ประเทศจีนมีความคาดหวังสูงในแรงงานที่มีประสิทธิภาพจากประชากรทุกคน ตั้งแต่ประชากรอายุน้อยที่สุดคือเด็กอนุบาล ทุกคนจะต้องใช้เวลาอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 50 นาที กวาดบ้าน ทำความสะอาด เพาะเมล็ดพันธ์พืช เตรียมอาหาร หรือทำงานที่ใช้แรงงานอย่างคุ้มค่าอย่างอื่น
           กิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่งแข่ง การเล่น การบริหารร่างกาย และเกมที่มีการออกกำลังกายต่างๆ จะถูกบรรจุไว้ในตารางกิจกรรมทุกวัน
           ทักษะการใช้ภาษาของเด็กจะได้รับการพัฒนาโดยการฝึกสนทนา เล่านิทาน และร้องเพลงนโยบายการศึกษาโดยทั่ว ๆไป ก็คือ ไม่สอนการเขียนจนกว่าเด็กจะขึ้นไปเรียนในระดับประถมศึกษา อย่างไรก็ดี ในการเรียนอนุบาลปีสุดท้าย เด็ก ๆ ก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษรจีน 2-3 ตัว ซึ่งเป็นอักษรสำคัญที่ใช้เขียนนโยบายการเมืองที่สำคัญ ๆ ในโรงเรียนอนุบาลบางแห่ง เด็ก ๆ จะได้เรียนวิธีจับปากกาอย่างถูกต้อง และสามารถเขียนเส้นหลักๆของตัวอักษรได้ เด็ก 6 ขวบสามารถท่องคำพูดสั้นๆ ของท่านประธานเหมาเหมาได้คล่อง อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า จุดประสงค์ทอย่างหนึ่งของการสอนระดับอนุบาลก็คือการให้โอกาสแก้เด็กอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความสามารถของเขาโดยปราศจากความกดดันหรือความเครียดในทุกทาง
          ในโรงเรียนจะไม่มีรูปภาพหรือของเล่นประเภทสัตว์จริงๆ หรือสัตว์ในจินตนาการ หรือแม้แต่ตัวละครต่างๆ ในเทพนิยาย รูปภาพอย่างเดียงที่ติดอยู่คือ รูปของท่านประธานเหมา หรือภาพของโรงงานอุตสาหกรรม ภาพของคอมมูน หรือภาพของวีรบุรุษแห่งการปฏิวัติเท่านั้น
          เด็กเมื่ออายุได้ 3 ขวบ จะไปเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเพื่อไปวาดภาพ ร้องเพลง เต้นระบำและเล่นเกมต่างๆ โรงเรียนมักจะมีกำแพงสูงล้อมสนามหญ้าสำหรับเด็กเล่น

การจัดโปรแกรมปรำจำวัน
          จากการที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์ใกล้ ที่โรงเรียนอนุบาลในเขตโฮปิง ในเทียนสิน ทำให้เห็นได้ว่าโรงเรียนอนุบาลนี้มีการดำเนินการอย่างไร โรงเรียนที่กล่าวถึงนี้เปิดทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น มีห้องเรียน 8 ห้อง และมีครู 40 คน ของเล่นและอุปกรณ์การเล่นต่างๆคล้ายคลึงกับโรงเรียนอื่นๆ ทั่วไป มีรถยนต์จำลอง และมีทหารทำด้วยพลาสติก เด็กๆชอบการแสดงประกอบดนตรีต่าง ๆ มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้บางทีก็เป็นที่ทำกันเองไม่ได้ซื้อ
มีเกมเล่นต่าง ๆ มากมาย มีเกมหนึ่งที่เด็ก ๆ ต้องปิดตาและเอาหัวผักกาดขาวที่ทำด้วยผ้าสักหลาดไปติดบนบอร์ดผ้าสำลี ตรงที่กระต่ายกำลังจะกินอาหารเย็นหรือเกมตกปลา ที่เด็ก ๆ ต้องใช้เบ็ด สาย และตะขอใส่ตกปลาที่ผับด้วยกระดาษและใส่ไว้ในสระจำลอง เกมเหล่านี้ต้องใช้สมาธิอย่างมากทีเดียวเด็กบางคนชอบเล่นใช้ตะเกียบคีบเปลือกหอย หรือลูกหินออกจากสิ่งอื่น ๆ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการฝึกฝนมาก อีกเกมหนึ่งเด็ก ๆ จะยืนล้อมเป็นวงกลม และเด็ก 2 คน ผูกตาและได้รับดอกไม้กระดาษไปถือไว้ เขาจะต้องเริ่มเคลื่อนที่จากตอนใดก็ได้ของวงกลมไปเรื่อย ๆ และจะต้องนำดอกไม้กระดาษนั้นไปใส่ในหม้อใบหนึ่งใน 2 ใบที่วางอยู่กลางวงกลม ใครที่ใส่ดอกไม้ลงในหม้อได้ก่อน เป็นฝ่ายชนะ
           เด็ก ๆ จะได้มรโอกาสออกไปเยี่ยมชมตามโรงงานและบริเวณชนบททั่วไป เขามักจะได้ไปเที่ยวตามโรงงานที่ทำงานคล้ายกับที่ทำงานที่ตนกำลังทำอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นการทำกล่องรองเท้า หรือการตรวจสอบหลอดไฟฟ้าก็ได้ ด้วยวิธีนี้เด็ก ๆ ก็จะได้รับได้การปลูกฝังให้มีความนับถือและชื่นชมในการทำงาน และมีหลายครั้งที่คนงานจากคอมมูนจะได้รับเชิญให้ไปพูดเด็ก ๆ ฟัง เกี่ยวกับงานที่เขาทำอยู่ด้วย

ระเบียบวินัย
           ความวุ่นวาย อยากรู้อยากเห็นของเด็กจะได้รับการขัดขวางอย่างละมุนละม่อม แต่ก็สามารถจะยุติพฤติกรรมเหล่านั้นได้ในที่สุด เด็กจะมีการรวมกลุ่ม และเริ่มสร้างสัญลักษณ์ของกลุ่มตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป
           เด็กที่ประพฤติผิดไม่ได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง แต่เพื่อน ๆ จะช่วยกันพูดจาให้เขาตระหนักถึงผลเสียที่ตามมา และชักชวนให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎของส่วนรวม เมื่อถึงเวลาเลิกเรียน เด็กเล็ก ๆ จะเดินแถวอย่างเรียบร้อยกลับบ้าน เขาจะเดินไปพลางร้องเพลงไปพลางจนถึงบ้านแล้วก็แยกย้ายกันไป จากข้อสังเกตของครู การทำเช่นนี้ช่วยทำให้เด็ก ๆ เข้าใจระเบียบและช่วยขจัดความประพฤติต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี
          ครูจะสนับสนุนให้เด็กมีการวิเคราะห์ตนเอง และยอมรับความบกพร่องของตน เพื่อเขาจะได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นวิธีการที่ใช้ง่ายๆ ก็คือ ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้องก็แข้ไขเสีย และระวังอย่าทำอีก ซึ่งตรงกับสุภาษิตที่ว่า  “น้ำที่ไหลย่อมไม่เน่าเสีย และบานพับประตูย่อมไม่มีปลวกขึ้น ” ( Running water is never stale door hinge is never wormeaten) ซึ่งเขาหมายความว่า “ทางเดียวที่จะหลีกเลี่ยงความสกปรกทางการเมืองและหลีกเลี่ยงความขุ่นมัวในหัวใจได้ก็โดยการหมั่นแก้ไขตัวเองอยู่สม่ำเสมอ”

บทสรุป
          นับตั้งแต่การสาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนในปี 1949 เป็นต้นมา จำนวนโรงเรียนอนุบาลและสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เด็กๆ ได้รับการปลูกฝังให้ยึดมั่นในการรับใช้ปวงชน และได้รับการอบรมสั่งสอนในทุกรูปแบบว่า ชีวิตในสังคมแบบใหม่นั้นย่อมดีกว่าชีวิตในสังคมแบบเดิม
          ที่โรงเรียน วิชาที่ได้บรรจุในหลักสูตรคือ พลศึกษา ศิลปะภาษา และความรู้ทั่วไป พลศึกษาจะสอนทักษะทางด้าน สุขนิสัย การเล่นแบบเสรียิมนาสติค  และการเต้นรำเข้าจังหวะ ส่วนศิลปะภาษาจะสอนเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษา เช่น การสนทนา และการเล่านิทาน เป็นต้น
          คุณภาพของการศึกษาในโรงเรียน มีตั้งแต่การเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาล ในเมืองที่มีการจัดการโดยมืออาชีพ ไปจนถึงการดูแลธรรมดา ๆ ในขณะที่แม่ของเด็กไปทำงานในโรงเรียนอนุบาล การจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กจะยึดนโยบาย 3 อย่าง คือ “ เล่น เรียน และทำงาน ” การทำงานในระดับนี้ก็ได้แก่ การให้เด็กดูแลทำความสะอาดเครื่องเรือน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ และดูแลให้อาหารสัตว์เลี้ยง
           ปรัชญาทางการศึกษาปฐมวัยของจีน คือ การฝึกเด็กให้มีความรักและศรัทธาให้ผู้นำพรรคปิตุภูมิ ลัทธิสังคมนิยม ระบบคอมมูนของปวงชน การใช้แรงงาน วิทยาศาสตร์ และความรุ่งเรืองของส่วนรวม รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้นำขององค์กรการศึกษาต่างๆ องค์การนี้ประกอบด้วยคนงานจากคอมมูนทั้งในชนบทและในเมือง
          เด็กๆชาวจีนจะไปเข้าสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ก็ต่อเมื่อไม่มีย่า ยาย หรือ ป้า คอยดูแลอยู่ทางบ้าน แต่ถึงแม้ว่าจะมีพวกคนสูงอายุมาปลูกฝังความคิด ความชื่นชมในการปฏิวัติไว้ในจิตใจของเด็กๆ ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียนอยู่บ่อยๆ แต่คนพวกนี้ก็อาจจะเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังด้วยไม่ได้
          การฝึกหัดครูจะดำเนินไปตามปรัชญาการศึกษาของท่านประธานเหมา ซึ่งไม่มีปรัชญา อื่นจะเทียบทานได้ สิ่งใดที่ไม่สอดคล้องกับปรัชญาของท่านประธานจะต้องถูกตัดทิ้งไปทันที
          สถานที่ที่ใช้สอน มีตั้งแต่บ้านหลังใหญ่ไปจนถึงห้องที่แบ่งให้ใช้ในโรงเรียน แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็จะต้องมีรูปท่านประธานเหมา และผู้นำกรรมการในท้องถิ่นติดอยู่ด้วยเสมอ พวกเด็กๆ มีจักรยานและแท่งอิฐบล็อกที่ใช้ต่อเป็นรูปร่างต่างๆ แต่ไม่มีตุ๊กตาหรือของเล่นที่เป็นตัวละครในเทพนิยายหรือสัตว์ในจินตนาการเลย
           เด็กๆ มักจะเล่นและอยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่ค่อยมีการแยกตัวออกไปคนเดียวในสถาบันเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งโรงเรียนประจำและสถานดูแลเด็กกลางวันซึ่งเปิดทำการสอนหรือดูแลเด็กเป็นเวลา 4 ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน
          ในปี ค.. 1949 จีนมีอัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 20 แต่ในปัจจุบันจีนอวดได้ว่าสถิติผู้รู้หนังสือจีนมีร้อยละ 80-90 แล้ว ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงมาก และเกิดมาจากการที่ท่านประธานเหมาดึงดันให้กับการสนับสนุนกลุ่มคนงานและพวกชาวนาให้ได้เรียนหนังสือ บรรดาคนที่อยู่ตามไร่นาในปัจจุบันจึงไม่ใช่แต่จะใช้แรงงานในชนบทอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นคนที่มีการศึกษาด้วยเช่นกัน