วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาปฐมวัยในประเทศจีน





บทนำ
                ประเทศจีน  มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเยาวชนของชาติ  มีการวางแผนอย่างรอบคอบ  โดยไม่มีการแข่งขันหรือแตกแยกกันในทางความคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาหรือวิธีการจัดการศึกษาเป็นอย่างอื่น  ชาวจีนมีความเชื่อมั่นว่าเด็กชาวจีนทุกคนจะต้องได้รับการเตรียมตัว  เพื่อโลกแห่งการทำงาน  และเพื่อชีวิตที่ต้องเพิ่งตนเองต่อไป  ทุก ๆ เช้าเด็กอนุบาลที่โตหน่อยก็จะต้องทำความสะอาดเด็กเล่น  รดน้ำต้นไม้  ซักผ้าเช็ดของตน  และทำงานอื่นๆ แล้วจะมีอะไรให้ทำ
                ในปี ค.ศ.  1977  ผู้อำนวยการของโรงเรียนอนุบาลแบบอยู่ประจำเปไห่ในปักกิ่งได้กล่าวว่า  ก่อนที่จะมีการปฏิวัติวัฒนธรรม  จีนจัดอันดับความสำคัญของสติปัญญาไว้เป็นอันดับแรก  พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกให้มีสุขภาพแข็งแรง  โดยไม่สนใจกับความเชื่อในลัทธิการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น  ตัวอย่างเช่น  เมื่อเด็ก ๆ ดื่ม น้ำชาจากชุดชา  ครูจะสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นเพื่อพัฒนาภาษาพูดและสติปัญญาของเด็ก  แต่ในปัจจุบันนี้การสนทนาจะเกี่ยวกับ  “ถ้วยชาที่ผลิตขึ้นโดยแรงงานของ “ลุง” หรือ “ป้า” กรรมกร  เป็นการชักจูงไปถึงการทำงานหนักตั้งแต่การรวบรวมดินเหนียวมาเพื่อจะปั้นให้เป็นถ้วยชามต่าง ๆ สำหรับเด็ก ๆ เหล่านี้การศึกษาไม่ได้แยกประสบการณ์จากชีวิตจริงออกจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นเลย
                แม้ในบทเพลงหรือบทกวีต่าง ๆ ก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นนี้ดังตัวอย่าง
“ใคร ๆ เรียกฉันว่า  ทหารตัวน้อย
                                ฉันต้องการจะร่วมในการปฏิวัติ  แม้ฉันจะยังเด็กก็ตาม
ฉันต้องการจะเป็นกรรมกร  ชาวนา  หรือไม่ก็ทหารเมื่อฉันโตขึ้น”
“รถคันเล็กของฉันสวยเหลือเกิน
ฉันบีบแตรเล่นเป็นระยะ ๆ
ฉันคือพลขับตัวน้อยของขบวนการปฏิวัติ”

ประวัติความเป็นมา
                จีนได้พัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ประณีตงดงามมากว่าระยะเวลา  2,000  กว่าปีของยุค
อารยธรรมรุ่งเรือง  เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่เมื่อเวลาล่วงมาถึงศตวรรษนี้  มีประชากรเพียงส่วนน้อยนิด
เท่านั้นที่ยังคงรักษาธรรมเนียมประเพณีเก่า ๆ  เหล่านี้ไว้ได้  ซึ่งก็คือพวกคหบดีในชนบทเท่านั้น  ระบบการให้ความรู้ก็คือการสืบเนื่องวัฒนธรรมที่เป็นมรดกสืบทอดกันมาวัฒนธรรมเหล่านี้ล้วนมีจุดรวมอยู่ที่คำสั่งสอนของท่านขงจื้อ  ข้อเขียนที่มีคุณค่าของบรรพชนและประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองของมหาอาณาจักรจีน  สังคมในยุคที่ผ่านมาจะเป็นรูปแบบของการพยายามที่จะทะนุบำรุงรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้มากกว่าจะคิดพัฒนาให้เหมาะสมขึ้น
                ชาวจีนในยุคก่อนได้ศึกษาเล่าเรียนจากคัมภีร์เขียนจากกระดาษที่ทำจากเยื่อไผ่  เขาเหล่านั้นได้รับการฝึกฝนจิตใจให้มั่นคงในความดีงาม  และรู้จักการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  โดยการฟังคำสั่งสอนและดูตัวอย่างจากผู้อาวุโส
                เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ขึ้นมามีอำนาจในปี  1949  จีนมีอัตราผู้รู้หนังสือทั้งหมดเพียง  20  เปอร์เซ็นต์  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเหตุผลว่าก่อนหน้าปี  1949  นั้น  จำนวนโรงเรียนมีน้อยกว่า  40  เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเด็กในวัยเรียนทั้งหมด  ดังนั้นงานเร่งด่วนของคณะรัฐบาลใหม่ก็คือ  การขยายระบบการศึกษาออกไปเพื่อขจัดความไม่รู้หนังสือ  และเพื่อผลิตกรรมกรที่ชำนาญงานและบุคลากรมืออาชีพที่จะมาช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจในสังคมในขณะนั้น
                วันที่  1  ตุลาคม  1951  คณะกรรมการบริหารของรัฐบาลแห่งประชาชาติได้ตรากฎหมาย  เพื่อ  “พิจารณาการปฏิรูปการศึกษา”  และได้จัดระบบการศึกษาใหม่สำหรับประชากรของสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น  เหตุการณ์นี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของระบบการศึกษาของประเทศจีนต่อมา
                ภายใต้กฎหมายใหม่นี้  กิจกรรมทุกประเภทเกี่ยวกับการเรียนการสอนทุกระดับตั้งแต่อนุบาลขึ้นไปจนถึงมหาวิทยาลัย  ก็ได้รับการปรับให้มีลักษณะเป็นลักษณะเดียวกันเป็นหนึ่งเดียว
                การศึกษาในระดับอนุบาล  ซึ่งมีมาก่อน ค.ศ.  1949  นั้น  มีลักษณะเป็นการศึกษา   2  ปี  สำหรับเด็กตั้งแต่  4  ขวบไปจนถึง  6  ขวบ  หลังจากนั้นจึงมรการขยายออกไปอีก  1  ปีเพื่อรับเด็กจนถึงอายุ  7  ขวบ  ซึ่งจะไปต่อเข้าโรงเรียนประถมศึกษาได้พอดี
                จีนใช้คำเรียกการเลี้ยงดูเด็กแบบบริบาล  ว่า “โต –เอห์– โซ”  ( ศูนย์ฝากเลี้ยงเด็ก ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่ผู้ปกครองไว้ในมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกของตน  ความต้องการสำหรับสถานที่สำหรับสถานที่ลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น  เมื่อพ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้านหมดทำให้ต้องมองหาใครที่จะมาช่วยดูแลเด็กแทน  ก่อนปี  1949  มีสถานเลี้ยงเด็กแบบนี้อยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น  แต่หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเพียงไม่เท่าไหร่  ก็มีสถานเลี้ยงเด็กผุดขึ้นมาเป้นดอกเห็ดและแพร่ขยายจากในตัวเมืองออกไปถึงชนบทอย่างทั่วถึง

ปรัชญาการศึกษา
                จีนได้ตั้งจุดประสงค์ของการศึกไว้  3  ข้อคือ
                1.   ให้สนองอุดมคติที่เปลี่ยนแปลงไปของประชาชนจีน  วิธีการที่ใช้คือใช้อิทธิพลของพรรคเข้าควบคุมและปลุกระดมให้ซาบซึ้งถึงอุดมการณ์ของพรรค  จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากเนื้อเพลงเด็กที่เขียนไว้ตอนต้น  เด็ก ๆ  จะไม่เพียงแต่ร้องเพลงสรรเสริญท่านประธานเหมาเจ๋อตุงเท่านั้น  แต่ยังจะต้องร้องเพลงแสดงความเกลียดชังและสาปแช่งทุกคนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามด้วย  มีการแสดงท่าทางประกอบ  เช่น  การชูกำปั้น  และการขู่เข็ญจะยิงเครื่องบินของจักรวรรดินิยมอเมริกาให้ร่วงหล่น  รวมทั้งใช้ปืนเด็กเล่นทำด้วยไม้แสดงท่าล้อเลียนดูถูกทหารอเมริกันตั้งแต่นายพลขึ้นไปถึงประธานาธิบดี

                2.   ให้สนองตอบนโยบายประหยัดของชาติ  โดยใช้แรงงานคนให้เกิดผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนจะต้องสอนให้นักเรียนตั้งแต่ในระดับก่อนวัยเรียนเข้าใจซึมซาบและมีความยินดีที่จะเป็นแรงงานให้แก่ประเทศชาติของตน
                3.   ให้การศึกษาสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของมวลชน  โดยพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับท้องถิ่น  โยใช้งบประมาณและแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นทุกระดับและมาตรฐานการครองชีพ  เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและความสามารถของท้องถิ่นนั่นเอง
                นอกเหนือจากจุดประสงค์ในการจัดการศึกษาทั้ง  3   ประการนี้แล้วเด็ก ๆ  ยังได้รับการย้ำให้ซึบซับถึงความทุกข์ยากและความขมขื่นในช่วงเวลาก่อนการปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา  ถ้าใครเกิดบ่นไม่พอใจที่ต้องใช้เสื้อผ้าเก่า ๆ  ขาด ๆ  ก็จะถูกอบรมให้รู้จักมีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่โดยการเล่าถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน ๆ  แล้วก็จะได้รับฟังเรื่องเกี่ยวกับวีรบุรุษต่าง ๆ แห่งการฟื้นฟูสังคมยุคใหม่  ให้เกิดความซาบซึ้งในความกล้าหาญและอดทนของวีรชนเหล่านั้น  นอกจากนั้นยังได้มีการย้ำเน้นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม  พลังกลุ่มและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  เด็ก ๆ จะถูกสอนว่ามิตรภาพนั้นสำคัญยิ่งกว่าการแข่งขันเพื่อเอาชนะกันอย่างเช่น  เด็กกลุ่มหนึ่งอาจจะช่วยกันวาดรูประบายสี  เด็กบางคนอาจจะระบายสีพื้นหลังบางคนอาจจะวาดรูปต้นหญ้าหรือวิว  หรือรูปคน  ช่วยกันวาดให้เสร็จเป็นงานของกลุ่มที่ทุกคนมีส่วนช่วยกันทำ
                เด็ก ๆ จะมีโอกาสได้ออกไปศึกษานอกสถานที่  ในโรงเรียน  หรือในชนบทต่าง ๆ เขาจะได้ไปดูและสังเกตการทำงานในทุ่งนาของพวกชาวนาที่ยากจน  และมีความเป็นอยู่ในระดับต่ำ  ได้สังเกตการทำงานที่ต้องอดทนแต่ทุกคนก็ก้มหน้าก้มตาทำโดยไม่ปริปากบ่น  ผลที่ได้ก็คือ  เด็ก ๆ  จะได้เรียนรู้ที่จะมุ่งความสนใจไปยังสังคมส่วนรวมมากกว่าจะคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง
                การศึกษาในระบบคอมมิวนิสต์จีนได้ประมวลแนวคิดไว้ดังนี้  ชีวิตที่ให้ความร่วมมือเป็นรากฐานของสังคม  เช่นเดียวกับเอกัตบุคคลเป็นรากฐานของจักรวรรดินิยม  การเป็นตัวของตัวเองจะต้องถูกทำลายไปเพื่อให้สังคมนิคมเข้ามาแทนที่  ความเป็นตัวเอง  ความนิยมในเอกลักษณ์ของตนเอง  การบุชาวีรบุรุษตามความพอใจของตน  การฝึกหรือแนะให้คนเคารพเหตุผลของตนเองเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมของคอมมิวนิสต์จีนทั้งสิ้น
                การให้ความร่วมมือในสังคมเริ่มขึ้นด้วย  การจัดสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล  การจัดงานวันเกิดซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบกันมากในโรงเรียนอนุบาลที่ฮ่องกง  จะไม่มีทางได้จัดอย่างเด็ดขาดในโรงเรียนอนุบาลที่ประเทศจีนเพราะที่นั่นกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นเรื่องของตนเองไม่มีความสำคัญอะไร  แต่ชาวจีนไม่ว่าเด็กหรือคนหนุ่มสาว  เฒ่าแก่  จะร่วมใจอย่างพร้อมเพรียงกันในการฉลองวันสถาปนาของสถาปนาของสถาบันสังคมที่ยิ่งใหญ่ต่าง ๆ การครบรอบปีของการปฏิวัติ  การครบรอบปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์  กองทัพปลดแอก
                นับตั้งแต่ลืมตาดูโลก  เด็ก ๆ  จะถูกเลี้ยงดูขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอันยิ่งใหญ่  และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความเป็นอยู่ของสังคมนั้น  พวกเขาจะเติบโตขึ้นมาด้วยความรู้สึกที่ว่า  ตนนั้นเป็นของสังคมสาธารณรัฐมากกว่าเป็นของครอบครัวของตนเอง
                สถานเลี้ยงดูเด็กและโรงเรียนอนุบาลได้ระบบได้ระบุจุดประสงค์เอาไว้อย่างชัดแจ้ง  นอกเหนือจาการให้การเลี้ยงดูแทนพ่อแม่ที่ออกไปทำงานแล้วโรงเรียนมีความประสงค์จะพัฒนาเด็กชายและเด็กหญิงเหล่านี้ให้เติบโตขึ้นมาเพื่อร่วมโครงการปฏิวัติในพื้นที่ใกล้เคียงหรือเหล่าโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้จุดประสงค์ดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลและโปรแกรมนี้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดความต้องการเร่งด่วนในอันที่จะขยายการตั้งสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลออกไปให้เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้

โครงสร้างและการขยายตัว
โครงสร้าง
                ในระยะของการศึกษาก่อนวัยเรียนนั้น  มีสถานเลี้ยงเด็กที่รับดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4-5 ขวบ ต่อจากนั้นจึงเข้าโรงเรียนอนุบาลอีก 2-3 ปี  การศึกษาในระบบโรงเรียนเริ่มตั้งแต่เมื่อเด็กอายุได้  7  ขวบ  จะเข้าโรงเรียนประถมศึกษาและจบชั้นประถมศึกษาเมื่ออายุประมาณ  13  ปี  ตามปกติแล้วส่วนใหญ่นักเรียนจะเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาอีก  6  ปี 
การขยายตัว
                การศึกษาก่อนวัยเรียนในประเทศจีนอาจจะแบ่งได้เป็น  2  ระยะคือระยะก่อนปี  ค.ศ. 1958  และระยะหลังปี ค.ศ. 1958
                การศึกษาระดับอนุบาลและการศึกษาก่อนวัยเรียนไม่เป็นที่นิยมกันนักในประเทศจีน  สถิติเกี่ยวกับพัฒนาการของการศึกษา  2  ระดับนี้  แสดงว่าแม้ในปี  ค.ศ.  1957  ในจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า  7  ขวบประมาณ  140,000 – 150,000  คนนั้น  ก็มีเพียง  1,000  คนเท่านั้น  ที่ได้เข้าเรียนในสถาบันศึกษาที่ตั้งขึ้น  โดยทั่วไปแล้ว  ตัวเลขเหล่านี้ได้มาจากสถานเลี้ยงเด็กแถบชานเมืองซึ่งก่อตั้งขึ้นและดำเนินการโดย  โรงงานอุตสาหกรรม  เหมืองแร่  รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานของรัฐ  จุดประสงค์ใหญ่ก็คือ  เพื่อช่วยบรรดามารดาทั้งหลายให้ออกไปทำงานได้  ดังนั้นแม้ว่าบางครั้งสถานที่เหล่านี้  จะตั้งอยู่ในที่ดินของหน่วยงานที่บรรดามารดาเหล่านั้นทำงานอยู่
                ในระหว่างที่การขยายตัวทางด้านนี้กำลังดำเนินไปอย่างช้า ๆ  นั้น  ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับ  ความขาดแคลน  ทางด้านตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมมาร่วมงานในสถาบันการศึกษาก่อนวัยเรียนนี้  ครูส่วนใหญ่ก็ได้แก่พวกแม่บ้านหรือมิฉะนั้นก็พวกเด็กสาว ๆ ที่ได้รับการฝึกฝนมาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น  แต่อย่างไรก็ตามในโรงเรียนอนุบาลที่เด่น ๆ ก็พยายามที่จะให้ได้มีการฝึกเพิ่มเติมในวิชาอื่น ๆ ด้วย เช่น  พลศึกษา  การสอนภาษา  ความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  ศิลปศึกษา  ดนตรี  และคณิตศาตร์
                ในปี  ค.ศ.1958  มีรายงานว่าจำนวนเด็กที่มาสมัครเข้าเรียนในระดับอนุบาลมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง  30  เท่าของปีที่ผ่านมาในขณะที่จำนวนเด็กในสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นจากประมาณ  5  แสนคน  เป็นมากกว่า 47 ล้านคน แต่การโฆษณาของพรรคอมมิวนิสต์กลับรายงานไปในทางตรงกันข้ามว่า จำนวนนักเรียนในปี ค.. 1958 ไม่สามารถเทียบกับจำนวนในปี 1957 ได้เลย และจะต้องพิจารณาเป็นปีๆไป การขยายตัวนี้เกอดขึ้นพร้อมๆ กับนโยบายก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกับการก่อตั้งระบบคอมมูนและนโยบายการพยายามดึงดูดคนเข้ามาในสถาบันแรงงาน จำนวนพวกผู้หญิงในเขตเมืองที่เข้าไปทำงานทั้งในไร่และสำนักงานมีเพิ่มมากขึ้นทุกที และในชนบทองพวกผู้หญิงก็ถูกบังคับทางอ้อมจากการที่พวกผู้ชายถูกเกณฑ์แรงงานไปสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ สร้างถนนหรืองานอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ผู้หญิงจึงต้องมีบทบาทและความรับผิดชอบมากขึ้นในการกสิกรรม ในขณะที่แต่เดิมมาพวกผู้หญิงเพียงแต่ช่วยตามฤดูกาล หรือช่วยกิจกรรมพิเศษอื่นๆ และดูแลเด็กๆในหน้าเพาะปลูกหรือเกี่ยวข้าวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอมมูนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกสำหรับเด็กๆ ที่อายุยังไม่ถึงวัยเรียนด้วย เพื่อให้มารดาไปทำงานได้
         จะเห็นได้ว่า การจัดอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเช่นนี้จะมีมีการขยายตัวในเมืองใหญ่ก็จริง แต่จำนวนนี้จะท่วมท้นจะเกิดขึ้นในชนบท เด็กเป็นจำนวนมากจะได้รับความดูแลจากหญิงสูงอายุหรือเด็กสาวที่มีตั้งแต่ยังไม่รู้หนังสือ ไปจนถึงรู้ครึ่งๆกลางๆ  ในขณะที่พวกมารดาทั้งหลายไปทำงานในทุ่งนา ทำให้เด็กๆอาจจะได้เรียนรู้อะไรบ้างเล็กๆน้อยๆ หรือบางทีก็ไม่ได้เรียนเลย เด็กเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆละ 45 คน และมีผู้ดูแลกลุ่มละ 2 คน ตามสถิติที่รายงานไว้

การบริหาร
สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยบางแห่งอำนวยการโดยสภาประชาชนแห่งท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการโดย คอมมูนต่างๆ ในชนบท โรงงานในเขตเมือง สำนักงานต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม หรือเขตที่อยู่อาศัย แต่ไม่ว่าจะดำเนินการโดยฝ่ายใดก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการที่ออกมาบังคับใช้ทั้งสิ้น
คณะปฏิวัติ เป็นผู้ควบคุมดูแลจังหวัด เมือง โรงเรียน มหาวิทยาลัย คอมมูน กลุ่มวัฒนธรรมและองค์การเกือบทุกประเภทในประเทศจีน คณะปฏิวัตินี้ประกอบด้วย  กรรมการชาวนาในชนบท นักบริหาร และสมาชิกจากกองทัพประชาชน อย่างไรก็ดีกระรวงศึกษาธิการก็ยังเป็นผู้ควบคุมเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง การบริการต่างๆ ในสถานเลี้ยงเด็กและอนุบาล นอกจากนั้นยังดูแลควบคุมเกี่ยวกับคุณสมบัติของครูและผู้บริหารโรงเรียนด้วยเช่นเดียวกัน

การอำนวยความสะดวก
           หญิงมีครรภ์จะได้ลดงานลงจาก 8 ชั่วโมง เป็น 7 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน และจะมีสิทธิลาหลังคลอดได้ 56 วัน แต่อัตรานี้ก็จะไม่แน่นอนตายตัว อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ ถ้าการคลอดไม่เป็นไปตามปกติหรือมารดาคลอดลูกแฝด ในระหว่างการทำงานมารดาจะได้รับอนุญาตให้พักได้ครึ่งชั่วโมงเพื่อไปดูแลลูกในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน
           ประเทศจีนเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ สถานการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยวดูเด็กจึงแตกต่างกันออกไปในส่วนต่างๆ ของประเทศ ตามปกติแล้วเด็กๆจะถูกทิ้งให้อยู่กับย่าหรือยายที่บ้าน แต่ถ้าที่บ้านไม่มีคนแก่และมารดาของเด็กต้องไปทำงานในโรงงาน มารดาเหล่านั้นก็จะนำเด็กไปไว้ที่สถานเลี้ยงเด็กของโรงานที่ตนทำงานอยู่ตั้งแต่อายุได้ประมาณ 8 สัปดาห์ เช้าขึ้นพอไปถึงก็เอาเด็กไปฝากไว้ที่นั่น พอเย็นเลิกงานก็ไปรับลูกกลับบ้าน ถ้าครอบครัวไหนอยู่ไกลจากโรงงานมาก ไม่สะดวกที่จะไปรับเด็กพากลับบ้านทุกวัน พ่อแม่ก็สามารถฝากลูกไว้ที่สถานที่เลี้ยงเด็กแบบกินนอนให้อยู่ไปในระหว่างวันที่ทำงาน พอเย็นวันเสาร์หรือวันหยุดก็รับกลับบ้านได้
           สถานเลี้ยงเด็กแบบกินนอนนี้ มักจะดัดแปลงจากบ้านหลังใหญ่ๆที่เจ้าของไม่อยู่แล้ว เป็นบ้านประเภทที่มีห้องเล็กๆ หลายห้องล้อมรอบสนามแบบเดียวกับบ้านในเมืองที่มีคนอาศัยอยู่หลายครอบครัวและใช้สนามกลางร่วมกัน นอกจากคนดูแล คนครัว พยาบาลและคนอำนวยความสะดวกอื่นๆ แล้ว ยังมีครู 1  คน  ประจำดูแลเด็กอายุระหว่าง  3 ขวบครึ่งถึง 5 ขวบ กลุ่มละ 7-8 คนอีกด้วย
          ตัวอาคารสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นอยู่กับความร่ำรวยขององค์การที่รับผิดชอบ และความนึกคิดและจินตนาการของกลุ่มครู บางแห่งชั้นอนุบาลจะมีตึกเป็นของตนเองทั้งหลัง แต่บางแห่งก็จัดเป็นห้อง  2-3 ห้อง รวมอยู่กับโรงเรียนประถมศึกษา ตัวห้องเรียนเองก็มีขนาดไม่แน่นนอน บางแห่งก็เป็นห้องเล็กๆ มีโต๊ะตัวจิ๋วๆ ตั้งอยู่เต็มห้อง อย่างในตึกที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งดู เหมือนว่าเป็นพื้นห้องที่เป็นไม้จะต้องแน่นขนัดจนน่ากลัวอันตราย แต่บางแห่งก็เป็นห้องกว้างเพดานสูงในบ้านของคหบดี ชาวนา อย่างที่ตำบลที่ปลูกชาใกล้เมืองฮังซอน ซึ่งกว้างขวางใหญ่โตจนจะแทบทำให้เด็กๆ ที่นั่งล้อมวงกันดูกลายเป็นคนแคะไปเลย อย่างไรก็ตามในสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลเหล่านี้ก็จะจัดเป็นเครื่องนอนให้กับเด็กทุกคนได้นอนพักหลังอาหารกลางวัน และถ้าเด็กที่ยังเล็กก็จะยืดเวลาให้นานขึ้นอีก เด็กๆ เหล่านี้จะนอนเรียงแถวบนสื่อที่ปูทับพื้นที่ก่อด้วยอิฐ
           เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนนี้ สร้างขึ้นตามขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก จะต้องวัดขนาดในการทำม้านั่ง อ่างล้างหน้าเตี้ยๆ ลาวแขวนผ้าเช็ดตัว ๚ล๚บางแห่งยังจัดหาตุ๊กตาต่างๆ ที่ผลิตจากโรงงานหรือจักรยานสามล้อไว้ให้เด็กๆเล่นด้วย

การฝึกหัดครู
          ในปี ค..1956 กระทรวงศึกษาธิการได้แวงแผนผลิตครูในทุกระดับสำหรับ 7 ปีใน 1 ล้านคน แต่จำนวนที่จบจากสถาบันฝึกหัดครูทุกแห่งกับมีจำนวนน้อยมาก บทความในวารสารปฏิรูปจีน
 ( China Reconstructs) ประจำเดือนกันยายน 1956 รายงานว่าในปี ค.. 1955 มีบัณฑิตครูจบการศึกษาจำนวน 12‚000 คน แต่จำนวนครูในโรงเรียนต่างๆ ที่ยังขาดอยู่มีประมาณ “อย่างน้อย 5‚000 คน“
          แม้ในปี ค.. 1961 จำนวนบุคลากรที่มีวุฒิเหมาะสมในการดำเนินงานในสถาบันการศึกษาก่อนโรงเรียนก็ยังมีไม่พอเพียง ครูส่วนมากก็คือพวกแม่บ้านหรือเด็กสาวๆ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสั้นๆ มาเท่านั้น ถึงกระนั้นโรงเรียนอนุบาลที่ก้าวหน้าบางแห่งก็ยังพยายามที่จะบรรจุวิชาพลศึกษา ภาษา สังคม และธรรมชาติวิทยา ดนตรี และคณิตศาสตร์ เข้าไปในหลักสูตรด้วย
           การสอนในระดับอนุบาล กลายเป็นงานที่โก้หรูสำหรับผู้ชายเพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงจะทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่าผู้ชาย

หลักสูตร
          แม้ว่าแนวโน้มหลักคือการเปิดโรงเรียนปกติที่เปิดสอนวันละ 8-10 ชั่วโมงก็ตาม ก็ยังมีบางโรงเรียนที่ใช้ระบบเปิดสอนวันสอนวันละครึ่งวัน คือ 4 ชั่วโมง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น บางโรงเรียนก็เปิดเป็นโรงเรียนประจำ ที่รับเลี้ยงเด็กในระหว่างสัปดาห์และกับบ้านได้ในวันหยุด แต่ในบางกรณีโรงเรียนอนุบาลก็เป็นโรงเรียนที่เปิดดำเนินการเฉพาะช่วงสั้นๆ เช่น ระหว่างฤดูเก็บเกี่ยว และเก็บค่าป่วยการเพียงเล็กน้อย แต่ให้พอค่าอาหารเท่านั้น
          ในโรงเรียนอนุบาลเหล่านี้ วิธีการสอนที่ใช้เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาพื้นฐานที่กำหนดไว้ในโปรแกรมการเรียนก็คือ ดนตรี ครูจะใช้สื่อนี้ในการสอน จริยาศึกษา การศึกษา ศรัทธาทางการเมือง การใช้แรงงาน และสิ่งที่พวกเขา เรียกว่า “การเรียนรู้ที่จะรู้จักกันและกัน” เมื่อมีการแสดงของเด็กๆ ที่โรงเรียน เด็กๆ จะแต่งหน้าจัดด้วยสีทาแก้ม ลิปสติก และดินสอเขียนตา
           ประเทศจีนมีความคาดหวังสูงในแรงงานที่มีประสิทธิภาพจากประชากรทุกคน ตั้งแต่ประชากรอายุน้อยที่สุดคือเด็กอนุบาล ทุกคนจะต้องใช้เวลาอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 50 นาที กวาดบ้าน ทำความสะอาด เพาะเมล็ดพันธ์พืช เตรียมอาหาร หรือทำงานที่ใช้แรงงานอย่างคุ้มค่าอย่างอื่น
           กิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่งแข่ง การเล่น การบริหารร่างกาย และเกมที่มีการออกกำลังกายต่างๆ จะถูกบรรจุไว้ในตารางกิจกรรมทุกวัน
           ทักษะการใช้ภาษาของเด็กจะได้รับการพัฒนาโดยการฝึกสนทนา เล่านิทาน และร้องเพลงนโยบายการศึกษาโดยทั่ว ๆไป ก็คือ ไม่สอนการเขียนจนกว่าเด็กจะขึ้นไปเรียนในระดับประถมศึกษา อย่างไรก็ดี ในการเรียนอนุบาลปีสุดท้าย เด็ก ๆ ก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษรจีน 2-3 ตัว ซึ่งเป็นอักษรสำคัญที่ใช้เขียนนโยบายการเมืองที่สำคัญ ๆ ในโรงเรียนอนุบาลบางแห่ง เด็ก ๆ จะได้เรียนวิธีจับปากกาอย่างถูกต้อง และสามารถเขียนเส้นหลักๆของตัวอักษรได้ เด็ก 6 ขวบสามารถท่องคำพูดสั้นๆ ของท่านประธานเหมาเหมาได้คล่อง อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า จุดประสงค์ทอย่างหนึ่งของการสอนระดับอนุบาลก็คือการให้โอกาสแก้เด็กอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความสามารถของเขาโดยปราศจากความกดดันหรือความเครียดในทุกทาง
          ในโรงเรียนจะไม่มีรูปภาพหรือของเล่นประเภทสัตว์จริงๆ หรือสัตว์ในจินตนาการ หรือแม้แต่ตัวละครต่างๆ ในเทพนิยาย รูปภาพอย่างเดียงที่ติดอยู่คือ รูปของท่านประธานเหมา หรือภาพของโรงงานอุตสาหกรรม ภาพของคอมมูน หรือภาพของวีรบุรุษแห่งการปฏิวัติเท่านั้น
          เด็กเมื่ออายุได้ 3 ขวบ จะไปเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเพื่อไปวาดภาพ ร้องเพลง เต้นระบำและเล่นเกมต่างๆ โรงเรียนมักจะมีกำแพงสูงล้อมสนามหญ้าสำหรับเด็กเล่น

การจัดโปรแกรมปรำจำวัน
          จากการที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์ใกล้ ที่โรงเรียนอนุบาลในเขตโฮปิง ในเทียนสิน ทำให้เห็นได้ว่าโรงเรียนอนุบาลนี้มีการดำเนินการอย่างไร โรงเรียนที่กล่าวถึงนี้เปิดทำงานตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น มีห้องเรียน 8 ห้อง และมีครู 40 คน ของเล่นและอุปกรณ์การเล่นต่างๆคล้ายคลึงกับโรงเรียนอื่นๆ ทั่วไป มีรถยนต์จำลอง และมีทหารทำด้วยพลาสติก เด็กๆชอบการแสดงประกอบดนตรีต่าง ๆ มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้บางทีก็เป็นที่ทำกันเองไม่ได้ซื้อ
มีเกมเล่นต่าง ๆ มากมาย มีเกมหนึ่งที่เด็ก ๆ ต้องปิดตาและเอาหัวผักกาดขาวที่ทำด้วยผ้าสักหลาดไปติดบนบอร์ดผ้าสำลี ตรงที่กระต่ายกำลังจะกินอาหารเย็นหรือเกมตกปลา ที่เด็ก ๆ ต้องใช้เบ็ด สาย และตะขอใส่ตกปลาที่ผับด้วยกระดาษและใส่ไว้ในสระจำลอง เกมเหล่านี้ต้องใช้สมาธิอย่างมากทีเดียวเด็กบางคนชอบเล่นใช้ตะเกียบคีบเปลือกหอย หรือลูกหินออกจากสิ่งอื่น ๆ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการฝึกฝนมาก อีกเกมหนึ่งเด็ก ๆ จะยืนล้อมเป็นวงกลม และเด็ก 2 คน ผูกตาและได้รับดอกไม้กระดาษไปถือไว้ เขาจะต้องเริ่มเคลื่อนที่จากตอนใดก็ได้ของวงกลมไปเรื่อย ๆ และจะต้องนำดอกไม้กระดาษนั้นไปใส่ในหม้อใบหนึ่งใน 2 ใบที่วางอยู่กลางวงกลม ใครที่ใส่ดอกไม้ลงในหม้อได้ก่อน เป็นฝ่ายชนะ
           เด็ก ๆ จะได้มรโอกาสออกไปเยี่ยมชมตามโรงงานและบริเวณชนบททั่วไป เขามักจะได้ไปเที่ยวตามโรงงานที่ทำงานคล้ายกับที่ทำงานที่ตนกำลังทำอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นการทำกล่องรองเท้า หรือการตรวจสอบหลอดไฟฟ้าก็ได้ ด้วยวิธีนี้เด็ก ๆ ก็จะได้รับได้การปลูกฝังให้มีความนับถือและชื่นชมในการทำงาน และมีหลายครั้งที่คนงานจากคอมมูนจะได้รับเชิญให้ไปพูดเด็ก ๆ ฟัง เกี่ยวกับงานที่เขาทำอยู่ด้วย

ระเบียบวินัย
           ความวุ่นวาย อยากรู้อยากเห็นของเด็กจะได้รับการขัดขวางอย่างละมุนละม่อม แต่ก็สามารถจะยุติพฤติกรรมเหล่านั้นได้ในที่สุด เด็กจะมีการรวมกลุ่ม และเริ่มสร้างสัญลักษณ์ของกลุ่มตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป
           เด็กที่ประพฤติผิดไม่ได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง แต่เพื่อน ๆ จะช่วยกันพูดจาให้เขาตระหนักถึงผลเสียที่ตามมา และชักชวนให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎของส่วนรวม เมื่อถึงเวลาเลิกเรียน เด็กเล็ก ๆ จะเดินแถวอย่างเรียบร้อยกลับบ้าน เขาจะเดินไปพลางร้องเพลงไปพลางจนถึงบ้านแล้วก็แยกย้ายกันไป จากข้อสังเกตของครู การทำเช่นนี้ช่วยทำให้เด็ก ๆ เข้าใจระเบียบและช่วยขจัดความประพฤติต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี
          ครูจะสนับสนุนให้เด็กมีการวิเคราะห์ตนเอง และยอมรับความบกพร่องของตน เพื่อเขาจะได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นวิธีการที่ใช้ง่ายๆ ก็คือ ถ้าทำอะไรไม่ถูกต้องก็แข้ไขเสีย และระวังอย่าทำอีก ซึ่งตรงกับสุภาษิตที่ว่า  “น้ำที่ไหลย่อมไม่เน่าเสีย และบานพับประตูย่อมไม่มีปลวกขึ้น ” ( Running water is never stale door hinge is never wormeaten) ซึ่งเขาหมายความว่า “ทางเดียวที่จะหลีกเลี่ยงความสกปรกทางการเมืองและหลีกเลี่ยงความขุ่นมัวในหัวใจได้ก็โดยการหมั่นแก้ไขตัวเองอยู่สม่ำเสมอ”

บทสรุป
          นับตั้งแต่การสาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนในปี 1949 เป็นต้นมา จำนวนโรงเรียนอนุบาลและสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เด็กๆ ได้รับการปลูกฝังให้ยึดมั่นในการรับใช้ปวงชน และได้รับการอบรมสั่งสอนในทุกรูปแบบว่า ชีวิตในสังคมแบบใหม่นั้นย่อมดีกว่าชีวิตในสังคมแบบเดิม
          ที่โรงเรียน วิชาที่ได้บรรจุในหลักสูตรคือ พลศึกษา ศิลปะภาษา และความรู้ทั่วไป พลศึกษาจะสอนทักษะทางด้าน สุขนิสัย การเล่นแบบเสรียิมนาสติค  และการเต้นรำเข้าจังหวะ ส่วนศิลปะภาษาจะสอนเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษา เช่น การสนทนา และการเล่านิทาน เป็นต้น
          คุณภาพของการศึกษาในโรงเรียน มีตั้งแต่การเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาล ในเมืองที่มีการจัดการโดยมืออาชีพ ไปจนถึงการดูแลธรรมดา ๆ ในขณะที่แม่ของเด็กไปทำงานในโรงเรียนอนุบาล การจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กจะยึดนโยบาย 3 อย่าง คือ “ เล่น เรียน และทำงาน ” การทำงานในระดับนี้ก็ได้แก่ การให้เด็กดูแลทำความสะอาดเครื่องเรือน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ และดูแลให้อาหารสัตว์เลี้ยง
           ปรัชญาทางการศึกษาปฐมวัยของจีน คือ การฝึกเด็กให้มีความรักและศรัทธาให้ผู้นำพรรคปิตุภูมิ ลัทธิสังคมนิยม ระบบคอมมูนของปวงชน การใช้แรงงาน วิทยาศาสตร์ และความรุ่งเรืองของส่วนรวม รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้นำขององค์กรการศึกษาต่างๆ องค์การนี้ประกอบด้วยคนงานจากคอมมูนทั้งในชนบทและในเมือง
          เด็กๆชาวจีนจะไปเข้าสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ก็ต่อเมื่อไม่มีย่า ยาย หรือ ป้า คอยดูแลอยู่ทางบ้าน แต่ถึงแม้ว่าจะมีพวกคนสูงอายุมาปลูกฝังความคิด ความชื่นชมในการปฏิวัติไว้ในจิตใจของเด็กๆ ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียนอยู่บ่อยๆ แต่คนพวกนี้ก็อาจจะเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังด้วยไม่ได้
          การฝึกหัดครูจะดำเนินไปตามปรัชญาการศึกษาของท่านประธานเหมา ซึ่งไม่มีปรัชญา อื่นจะเทียบทานได้ สิ่งใดที่ไม่สอดคล้องกับปรัชญาของท่านประธานจะต้องถูกตัดทิ้งไปทันที
          สถานที่ที่ใช้สอน มีตั้งแต่บ้านหลังใหญ่ไปจนถึงห้องที่แบ่งให้ใช้ในโรงเรียน แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็จะต้องมีรูปท่านประธานเหมา และผู้นำกรรมการในท้องถิ่นติดอยู่ด้วยเสมอ พวกเด็กๆ มีจักรยานและแท่งอิฐบล็อกที่ใช้ต่อเป็นรูปร่างต่างๆ แต่ไม่มีตุ๊กตาหรือของเล่นที่เป็นตัวละครในเทพนิยายหรือสัตว์ในจินตนาการเลย
           เด็กๆ มักจะเล่นและอยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่ค่อยมีการแยกตัวออกไปคนเดียวในสถาบันเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งโรงเรียนประจำและสถานดูแลเด็กกลางวันซึ่งเปิดทำการสอนหรือดูแลเด็กเป็นเวลา 4 ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน
          ในปี ค.. 1949 จีนมีอัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 20 แต่ในปัจจุบันจีนอวดได้ว่าสถิติผู้รู้หนังสือจีนมีร้อยละ 80-90 แล้ว ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงมาก และเกิดมาจากการที่ท่านประธานเหมาดึงดันให้กับการสนับสนุนกลุ่มคนงานและพวกชาวนาให้ได้เรียนหนังสือ บรรดาคนที่อยู่ตามไร่นาในปัจจุบันจึงไม่ใช่แต่จะใช้แรงงานในชนบทอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นคนที่มีการศึกษาด้วยเช่นกัน

2 ความคิดเห็น:

  1. How to bet on Baccarat in Vegas - UrbanWire
    The basics of Baccarat are simple: 온카지노 the dealer makes the final move to septcasino the dealer's left 바카라 or right at the top of the table. When the dealer's right hand is

    ตอบลบ
  2. Las Vegas - Book online hotel and casino in Las Vegas | MJH
    Book your next hotel stay at 계룡 출장안마 the best 양산 출장샵 rates with JM Rewards. 순천 출장안마 Browse through our hotel booking guides 충청남도 출장샵 to save money, and enjoy 전라북도 출장샵 our VIP program.

    ตอบลบ